ทักษะการอ่านและการเขียนเป็นทักษะที่จำเป็นที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การอ่านเป็นกระบวนการรับสารที่ผู้อ่านแปลความหมายของสื่อระหว่างการอ่าน โดยการอ่านของคนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การอ่านแตกต่างกันไป เช่น  อ่านเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความบันเทิง สนองความต้องการอื่นๆ (เช่น ความมั่นคงในชีวิต แนวทางการแก้ไขปัญหา หาเหตุผลสนับสนุนความคิด สร้างสภาพอารมณ์ที่ตนต้องการ เป็นต้น) สำหรับการเขียนเป็นกระบวนการส่งสารเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ประสบการณ์ โดยการสื่อสารอาจทำในลักษณะเป็นภาพ คำ ประโยค และ/หรือข้อความ โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น เพื่อเล่าเรื่อง สรุปความ อธิบายความ แสดงความคิดเห็น ปลุกใจ โฆษณา เป็นต้น

     การอ่านและการเขียนไม่ใช่ทักษะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ต้องเรียนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะอ่านคล่องและเขียนคล่อง และมีนิสัยรักการอ่านและการเขียน การอ่านกับการเขียนในเรื่องราวที่หลากหลาย สอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนอ่านและเขียนเรื่องราวได้เข้าใจมากขึ้น

     ฉะนั้น การสร้างนิสัยรักการอ่านการเขียนให้กับผู้เรียน  โรงเรียน (คุณครู) ควรกำหนดวิธีการที่เป็นรูปธรรม เช่น กำหนดช่วงเวลาการอ่าน จำนวนหนังสือ/เรื่องที่อ่านต่อวัน โดยสร้างบรรยากาศปลุกเร้าให้ผู้เรียนเกิดการอ่านและเห็นความสำคัญของการอ่าน การจัดกิจกรรมที่หลากหลายจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนอ่านอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างมีความสุข ทั้งนี้ การเขียนบันทึกการอ่าน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำหลังการอ่านได้ และเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูทราบถึงทักษะการอ่านและการเขียนของผู้เรียน  การตรวจบันทึกการอ่านและการให้ข้อเสนอแนะการเขียนบันทึกการอ่านควรให้เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์และให้กำลังใจผู้เรียน เพื่อเป็นแรงเสริมพฤติกรรมการอ่านและการเขียนของผู้เรียนให้เกิดเป็นนิสัยรักการอ่านมากขึ้น

     สพฐ. มีตัวอย่างบันทึกการอ่านให้กับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียน (คุณครู) สามารถใช้เป็นแบบอย่าง นำไปปรับใช้ หรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ โดยกำหนดรูปแบบ หัวข้อ ตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ หรือเขียนสรุปความในเรื่องราวที่คิดว่า เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนของตนได้ตามบริบทและความเหมาะสม

 

ตัวอย่าง

เลือกบันทึกการอ่านของ สพฐ.

              


บันทึกการอ่านของโรงเรียน

 

         
โรงเรียนบ้านสันกำแพง   โรงเรียนแม่สะเรียง (บริพัตรศึกษา)   โรงเรียนรวมราษฏร์สามัคคี   โรงเรียนบ้านศุภชัย   โรงเรียนท่าผักชี  

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2543). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 172 หน้า.

กรมวิชาการ. (2543). คู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 246 หน้า.

กรมวิชาการ. (2543). คู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 336 หน้า.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การเขียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563. https://th.wikipedia.org/wiki/การเขียน

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือการดำเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ประจำปีงบประมาณ 2561. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.