วิสัยทัศน์
      องค์กรแห่งความเป็นผู้นำทางวิชาการ สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างยั่งยืน

พันธกิจ
     1. พัฒนาและส่งเสริมการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
     2. พัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
     3. พัฒนาและส่งเสริมวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้การกำหนดเกณฑ์การจบการศึกษาและเอกสารหลักฐานทางการศึกษา
     4. พัฒนาสื่อต้นแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามหลักสูตร
     5. พัฒนาและส่งเสริมระบบและมาตรฐานการแนะแนวสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
     6. พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี และกีฬา)
     7. พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่สอง
     8. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การแนะแนว การเรียนการสอนภาษาไทย ภาษาต่างประเทศที่สอง การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี และกีฬา) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
     1. เร่งแก้ปัญหากลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับผู้เรียนทุกระดับ รวมทั้งลดความเครียดและสุขภาพจิตของผู้เรียน
     2. เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) 
     3. ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-6 ปี และผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบ รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพิการที่ค้นพบจากการปักหมุดบ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
     4. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและการจัดทำกรอบหลักสูตร รวมทั้งจัดกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้เหมาะสมตามวัยของผู้เรียน
     5. จัดการอบรมครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
     6. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ทุกระดับ
     7. ยกระดับคุณภาพของนักเรียนประจำพักนอน สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สูง ห่างไกลและถิ่นทุรกันดาร
     8. มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทุกระดับ
     9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอำนาจและใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ (Block Grant) ตามหลักธรรมาภิบาล ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา