แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิรูปการศึกษากับนครเซี่ยงไฮ้
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตลดา พร้อมด้วย ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะรวม 10 คน เดินทางเยือนนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างวันที่ 18 - 19 กันยายน 2561 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การปฏิรูปการศึกษากับผู้บริหารของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ โดยเฉพาะความพยายามยกกระดับคุณภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการวัดและประเมินสัมฤทธิ์ผลผู้เรียนของนักเรียนเซี่ยงไฮ้ทั้งในระดับเทศบาลและนานาชาติ โดยเฉพาะการสอบ PISA ซึ่งเซี่ยงไฮ้ประสบความสำเร็จเป็นอันดับหนึ่งถึงอันดับที่ห้าในรอบหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา
จากการหารือกับ ศาสตราจารย์ ดร. หลู จิน (Professor Dr. Lu Jin) รองประธานสถาบันพัฒนาคุณภาพการศึกษาแห่งนครเซี่ยงไฮ้และคณะ (Shanghai Academy of Rducation Sciences) คณะจากประเทศไทยได้รับฟังการบรรยาสรุปถึงประวัติการปฏิรูปการศึกษาของเซี่ยงไฮ์ในช่วงสามทศวรรษ รวมทั้งปัยจัยที่ส่งเสริมให้นานาประเทศเริ่มหันมาสนใจประสบการณ์ยกระดัยคุณภาพการศึกษาของเซี่ยงไฮ้ที่มีผลสัมฤทธิ์เป็นหนึ่งในต้นแบบของโลกที่สามารถพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เน้นความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล ควบคู่ไปกับการวางรากฐานความรู้เพื่อการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และลงมือปฏิบัติที่เรียกว่า Quality-centered Approach ที่สำคัญ เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ยังให้ความสำคัญในการคัดเลือกครูที่จบสาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยตรงมาสอนนักเรียนในทุกระดับ ส่วนการประเมินผลผู้เรียน เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้พัฒนาระบบการประเมินผู้เรียนแบบเขียว (Green Assessment) ที่วัดและประเมินความรู้และสามารถของผู้เรียนควบคู่ไปการประเมินบุคคลิกของผู้เรียนที่พึงประสงค์ในอนาคต อาทิ ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำในอนาคต และการรักษาสภาพแวดล้อม
จากการหารือในเบื้องต้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะริเริ่มพัฒนาความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาของไทยและเซี่ยงไฮ้ในหลายรูปแบบ อาทิ การพัฒนาหลักสูตรและแบบเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลไกลและกระบวนการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของครูที่โรงเรียนเป็นฐานและเชื่ยมโยงกับการเลื่อนวิทยะฐานะ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และครูแกนนำวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้จะเป็นกลไกในการประสานงานและติดตามผลความร่วมมือที่จะเกิดชึ้นในอนาคต