สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา โดยกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการคัดเลือกโครงการวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ สำหรับโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยคัดเลือกมาจากโรงเรียนใน 9 เครือข่ายห้องเรียนพิเศษ จาก 220 โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิงปฎิบัติการคัดเลือกโครงการวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ  เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโครงงานโอลิมปิควิชาการ (Genius Olympiad 2019 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา) และเพื่อเพิ่มทักษและะประสบการณ์ให้กับครูและนักเรียน ให้มีความรู้เพิ่มพูนทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ  โดยผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์มหาวิทยาลัย ครูและนักเรียนจากโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ  วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จำนวน 150 คน ในระหว่างวันที่ 22-24  กุมภาพันธ์  2562  ณ  โรงแรมรอแยลเบญจา กรุงเทพมหานคร
 
ผลการคัดเลือกโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ มีดังนี้
 
อันดับ 1. โรงเรียนสิรินธร   สพม.33  เรื่อง  "การตรวจสอบปริมาณคลูโคสในปัสสาวะ"
 
อันดับ 2  ดรงเรียนชลกันยานุกูล  สพม.8  เรื่อง  "ผลของไบโอชาร์จากไม้ไผ่ต่อการปรับปรุงคุณภาพของดินและการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง"
 
อันดับ 3  โรงเรียนดำรงค์ราษฎร์สงเคราะห์  สพม.36  เรื่อง  การพัฒนาแผ่นปะปลูกกล้ากล้วยไม้จากแบคทีเรียเซลลูโลสและกาวยางผลกาฝากดำื่อการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ้ย
 
อันดับ 4. โรงเรียนสตรีระนอง   สพม.14  เรื่อง  "เครื่องคัดแยกขวดอัตโนมัติ"
 
อันดับ 5. โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม   สพม.36  เรื่อง  "การศึกาาสารสกัดจากหางไหลแดงในการสลบปลาน้ำจืดที่สำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิด"
 
สำรองอันดับ 1  โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  สพม.25  เรื่อง "การสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนด้วยวิธีเคมีสีเขียวโดยใช้สารสกัดจากเปลือกผลไม้  พื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นเท้า"
 
สำรองอันดับ 2  โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทนาลัย  สพม.9  เรื่อง "ผ้าก็อซ  Non - stick จากสารเมือกธรรมชาติ"
 
สำรองอันดับ 3  โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล  สพม.20  เรื่อง "การศึกษาผลทางอัลลีโลพาทีต่อการเจริญเติบโตของพืชปลูกจากใบสาบเสือ"
 
สำรองอันดับ 4  โรงเรียนวิสุทธิรังษี  สพม.8 เรื่อง "ตัวดัก คู่รัก ตัวดูด"
 
สำรองอันดับ 5  โรงเรียนชลกันารกูล  สพม.18  เรื่อง "การตรวจวักปริมาณฟอร์มาลีนด้วยวิธีการตรวจวัดความเข้มขันของสีผ่านสมาร์ทโฟน"