การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา
รายวิชาเพิ่มเติม เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมจากสิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง ฯ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้น ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน หรือความต้องการของท้องถิ่น โดยกำหนด “ผลการเรียนรู้” เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาเพิ่มเติมต่างๆ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด ความสนใจ ความสามารถของตนเอง เรียกว่า ขั้นสำรวจความถนัด (Career Exploration) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ลักษณะต่างๆ ของอาชีพ และค้นพบความต้องการของตัวเองเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกอาชีพที่เหมาะสม การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ฝึกทักษะ และเตรียมคุณลักษณะที่จำเป็นของอาชีพต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและสามารถตัดสินใจ วางแผนเพื่อศึกษาต่อหรือออกไปประกอบอาชีพใดต่อไปในอนาคต
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ (Career Preparation) หรือศึกษาต่อ ในสาขาวิชาชีพที่ตนถนัด สถานศึกษาควรจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อวางพื้นฐาน ความรู้และทักษะทางอาชีพเฉพาะทางมากขึ้น โดยอาจจัดเป็นแผนการเรียนที่มีจุดเน้นและเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความต้องการของตน
จากแนวทางดังกล่าว มีตัวอย่างที่สถานศึกษาได้นำเป้าหมายการเรียนรู้ไปสู่การออกแบบรายวิชาเพิ่มเติมโดยจัดอยู่ภายใต้โครงสร้างเวลาเรียนที่สถานศึกษากำหนด เพื่อสำรวจความถนัด และ/หรือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ฝึกทักษะ และเตรียมความพร้อมและคุณลักษณะที่จำเป็นของแต่ละอาชีพให้กับผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมที่เรียนจบในรายวิชานั้น หรือ เรียนต่อเนื่องเป็นชุดวิชาที่เน้นทักษะฝีมือหรือวิชาการ ดังนี้
2.1 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อสำรวจความถนัด ความสนใจทางอาชีพ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การทำงาน และ/หรือ ฝึกปฏิบัติการทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน มักจัดเป็นรายวิชาอาชีพหลากหลายให้เลือกเรียน (Shopping Courses) หรือกำหนดเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาและทักษะกระบวนการที่สามารถเรียนจบภายในรายวิชานั้น เช่น รายวิชา ถุงผ้าลดโลกร้อน ช่างขนมไทย การประดิษฐ์ของชำร่วย เป็นต้น ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีเหลือง
2.2 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อฝึกทักษะฝีมือ และ/หรือ มุ่งสู่อาชีพเฉพาะ และเตรียมคุณลักษณะด้านอาชีพ มักจัดให้เรียนต่อเนื่องเป็นชุดรายวิชา (Block Courses) เช่น ชุดรายวิชา ทองเหลือง 1 ทองเหลือง 2 ... ทองเหลือง 6 ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีชมพู
2.3 รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิชาการสู่อาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และส่งเสริมการประกอบอาชีพ มักจัดให้เรียนต่อเนื่องเป็นชุดรายวิชา (Block Courses) เช่น คณิตศาสตร์เพิ่มเติม1 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 ... ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 1 ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 2 ชีววิทยาเพื่อสุขภาพ 3 ... ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา แสดงเป็น แถบสีเขียว
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1. โรงเรียนบ้านปะอาว ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา
2. โรงเรียนบ้านหนองไคร้ ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา
3. โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | กลุ่มสมรรถนะ | คลิปวีดิโอ
4. โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา
5. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 55 ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา
6. โรงเรียนสรรพวิทยาคม โครงสร้างรายวิชา | ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา | คลิปวีดิโอ
7. โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี โครงสร้างรายวิชา | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา
8. ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม ด้านเกษตรกรรม | ด้านศิลปะประดิษฐ์ | ด้านอาหารและโภชนาการ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. โรงเรียนสรรพวิทยาคม แผนการเรียนเตรียมสู่อุดมศึกษา | แผนการเรียนทวิศึกษา | ตัวอย่างรายวิชาเพิ่มเติม | ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา
2. โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม แผนการเรียนเตรียมสู่อุดมศึกษา | แผนการเรียนทวิศึกษา
3. โรงเรียนจตุรมิตร แผนการเรียนทวิศึกษา
4. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 แผนการเรียนทวิศึกษา
5. โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี แผนสามัญ | แผนเน้นอาชีพ
ตัวอย่างหลักสูตรในโครงการบ่มเพาะและพัฒนาอาชีพเชิงบูรณาการ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนด้านอาชีพให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำไปใช้เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นในระดับชั้น ม.1 - ม.6 ประกอบด้วย คู่มือการสอน (คำอธิบายรายวิชา แผนการสอน การวัดและประเมินผล) นอกจากนั้น บางหลักสูตรมีหนังสือเรียน และ E-Book ซึ่งครูสามารถนำไปใช้ได้ทันที
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพทางการแพทย์แผนไทย
มหาวิทยาลัยพะเยา
- หลักสูตรการบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรการพัฒนาซอฟต์แวร์ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรการพัฒนาสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชั่น E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรคอมพิวเตอร์เกมส์และแอนิเมชั่น E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรเทคนิคคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรศิลปะการถ่ายภาพ E-Book | คู่มือครู
- หลักสูตรสื่อผสม E-Book | คู่มือครู
WEB-LINK
รายวิชาเพิ่มเติมด้านอาชีพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2
2. โรงเรียนบ้านจอมแจ้งมิตรภาพที่ 193
หลักสูตรระยะสั้น
1. หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี